#สมรสเท่าเทียม ได้ไปต่อ หรือพอแค่นี้ ???

lgbt
#สมรสเท่าเทียม ได้ไปต่อ หรือพอแค่นี้ ???
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แอดมินขอแชร์ ประสบการณ์ที่ได้เจอมากับลูกค้ารายนึงที่มีคู่สมรสเป็นเพศเดียวกัน โดยทั้งคู่อยู่ในวัยชรา และต่างอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยามาเป็นเวลานานเป็นสิบๆปี จนมาถึงวันที่ทั้งคู่กังวลว่า หากฝ่ายใดเสียชีวิตลง อีกฝ่ายจะไม่สามารถได้รับสิทธิในทรัพย์สินของอีกฝ่ายฉันท์สามีภรรยาต่างเพศได้เลย ทำให้แอดมินไปค้นบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้พบความพยายามของกลุ่มพรรคๆนึงที่พยายามผลักดันในเกิดมีกฎหมายด้วยการร่างเป็น ร่าง พรบ คู่ชีวิต ในปีพ.ศ.2556 แต่ก็เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เพราะสิทธิ์ที่ได้รับจาก พ.ร.บ.คู่ชีวิตมันน้อยมาก แตกต่างจากการสมรส ของชาย-หญิงอย่างสิ้นเชิง แต่แอดมินว่าเริ่มจากมีก้าวแรกก่อนละค่อยๆขยับไต่ระดับน่าจะเป็นจุดเริ่มที่ดีที่จะไปต่อได้อีกยาวๆน่ะคะ
สาระสำคัญ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต
“คู่ชีวิต” หมายความว่า บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด และได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ. นี้
กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้
กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองฝ่ายมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย
กำหนดให้ในกรณีที่ผู้เยาว์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องได้รับความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือศาล รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ย่อมบรรลุ นิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิต
กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 3 และ 5 (2) และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 29 วรรคหนึ่ง) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต โดยแบ่งเป็นสินส่วนตัว และทรัพย์สินร่วมกัน
คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียน รับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตน ด้วยก็ได้
เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่ เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคู่สมรส (มาตรา1606 1652 1563) ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลม
สมรสเท่าเทียม 
การแก้ไขถ้อยคำในหลายมาตราที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า “สามีและภรรยา” เป็น “คู่สมรส”
มีการปรับถ้อยคำจากคำว่า “ชาย” หรือ “หญิง” เป็น “บุคคล” เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสมรสระหว่างบุคคล
ข้อวิจารณ์หลักที่มีการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต คือ การไม่ครอบคลุมการเข้าถึงสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์บางประการของคู่ชีวิต เช่น การลดหย่อนภาษีของคู่สมรส
เพื่อนๆคิดเห็นประการใดมาแชร์เล่าสู่กันฟังบ้างน่ะคะ